โครงการการยกระดับทุนทางวัฒนธรรมบนเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ เรื่องราวพลังแห่งความรักช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพาในจังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และพื้นที่ต่อเนื่อง
สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นปี 2482 เมื่ออังกฤษและฝรั่งเศสประกาศสงครามกับเยอรมนีญี่ปุ่น เป็นพันธมิตรกับเยอรมนีและต้องการมีอิทธิพลในแถบเอเชียอาคเนย์ จึงได้แผ่อำนาจครอบคลุมและยึดครองอาณาเขตประเทศต่าง ๆ มากขึ้นตามลำดับ สหรัฐอเมริกาได้ยื่นคำขาดให้ญี่ปุ่นยุติบทบาทขณะที่อยู่ในระหว่างการเจรจา ในวันที่ 7 ธันวาคม 2584 ญี่ปุ่นถือโอกาสส่งกองบินไปทิ้งระเบิดเพิร์ลฮาร์เบอร์ เพื่อทำลายฐานทัพเรือและกำลังทางอากาศของสหรัฐอเมริกา และในวันที่ 8 ธันวาคม 2584 ญี่ปุ่นได้ยื่นข้อเสนอต่อไทย เพื่อขอเดินทัพผ่านไปยังพม่า และมลายูของอังกฤษ รวมทั้งขอให้ไทยทำอนุสัญญาเป็นมิตรกับญี่ปุ่น และทำอนุสัญญาร่วมรบกับญี่ปุ่น ขณะที่รัฐบาลยังไม่ตัดสินใจ กำลังทหาร ตำรวจ ยุวชนทหาร และพลเรือนที่ประจำการตามจังหวัดต่าง ๆ ได้สู้กับญี่ปุ่นอย่างดุเดือด รัฐบาลไทยจึงสั่งยุติการรบ และตำเป็นต้องทำสนธิสัญญาเป็นมิตรกับญี่ปุ่น ทำให้อังกฤษประท้วงดด้วยการส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิดในประเทศไทย ไทยจึงประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกา และ อังกฤษ แต่มีคนไทยจำนวนมากไม่เห็นด้วยและได้ก่อตั้งขบวนการเสรีไทยทำการต่อต้านญี่ปุ่นและให้ความช่วยเหลือแก่ฝ่ายสัมพันธมิตร สงครามได้ยุติลงเมื่อสหรัฐอเมริกาส่งเครื่องบินไปทิ้งระเบิดปรมาณู ที่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก ในวันที่ 14 สิงหาคม 2488 สมเด็จพนะจักรพรรดิฮิโรฮิโต มีพระบรมราชโองการให้กองทัพญี่ปุ่นยุติการรบทุกสมรภูมิจากนั้นในวันที่ 16 สิงหาคม 2488 พระบามสมเด็จ พระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลมีพระบรมราชโองการว่า การประกาศสงครามของรัฐบาลไทยต่ออังกฤษและสหรัฐอเมริกานั้นเป็นโมฆะ เพราะเป็นการกระทำผิดความจำนงของประชาชนชาวไทย และฝ่าฝืนขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายบ้านเมือง อีกทั้ง บรรดาดินแดนที่ญี่ปุ่นมอบให้ดูแล คือ รัฐกลันตัน ตรังกานู ปะลิสและไทยบุรีนั้น ประเทศไทยก็ไม่มีความประสงค์จะได้ไว้ ต่อมารัฐบาลอังกฤษและสหรัฐอเมริกาได้ออกประกาศรับรองประกาศสันติภาพของรัฐบาลไทย ผลของสงครามมหาเอเชียบูรพา ทำให้ไทยได้รับความกระทบกระเทือนทั้งในด้านการเมืองเศรษฐกิจ และสังคม แต่สามารถรักษาความเป็นเอกราชและบูรณภาพของดินแดนไว้ได้ ทำให้ประเทศได้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ โดยรัฐบาลไทยยอมเสียดินแดนที่ได้กลับคืนมาในกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศสให้แก่อังกฤษและฝรั่งเศสเป็นข้อแลกเปลี่ยน
อนุสาวรีย์ยุวชนทหาร ตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 4001 สายชุมพร-ปากน้ำ ตำบลบางหมาก เชิงสะพานท่านางสังข์ ห่าวจากอำเภอเมืองชุมพร ประมาณ 5 กิโลเมตร สร้างเพื่อเปนอนุสรณ์รำลึกถึงวีรกรรมอันกล้าหาญของยุวชนทหารที่ทำการรบต่อสู่กับทหารญี่ปุ่น ที่นุกรานเข้ามาในประเทศไทย โดยอนุสาวรีย์แห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณความดีและวีรกรรมของผู้กล้าหาญอันประกอบด้ายตำรวจ หน่วยยุวชนทหารที่ 52 โรงเรียน ศรียาภัย และกองพันทหารรายที่ 38 ที่ได้รวมกำลังกันต่อต้านกองทัพญี่ปุ่นที่ยกพลทางเรือมาขึ้นบกที่กลางอ่าวบ้านคอสน จังหวัดชุมพร เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484 เพื่อเดิมทางผ่านไทยเข้าตีพม่าและมาลายู ซึ่งเป็นเมืองของอังกฤษแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งบริเวณที่ตั้งอนุสาวรีย์นั้น เป็นบริเวณที่ได้มีการต่อสู้ปะทะกับข้าศึก ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ญี่ปุ่นทำสนธิสัญญาไตรภาคีกับอิตาลีและเยอรมันซึ่งเป็นฝ่ายแพ้สงคราม เพื่อเริ่มการรบครั้งใหม่ หลังจากโจมตีอ่าวเพิลอาร์เบอร์ของอเมริกาจนแหลกลาญเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2484 ญี่ปุ่นก็ส่งกำลังกองทัพขนาดมหึมาเข้าตีพม่า และมลายู โดยเดินทัพผ่านประเทศไทยรัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ในขณะนั้นได้ขอความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ แต่ได้รับการปฏิเสธ
วันที่ 8 ธันวาคม 2484 กองทัพเรือญี่ปุ่นจำนวนมากได้ยกพลขึ้นฝั่งที่บางปู จังหวัดสมุทรปราการ โดยไม่มีการต่อสู้ผ่านมาถึงจังหวัดประจบคีรีขันธ์ และล่องลงใต้ต่อไปปะทะกับกองกำลังตำรวจที่สุราษฎร์ธานี และยึดเมืองได้แล้วยกพลขึ้นบกได้ที่นครศรีธรรมราช สงขลา และปัตตานี ซึ่งมีการสูญเสียชีวิตและกำลังทั้งสองฝ่ายญี่ปุ่นและไทยจากการสู้รบกัน ส่วนที่จังหวัดชุมพร กองกำลังทหารญี่ปุ่นส่งเรือระยายพลขึ้นที่กลางอ่าวบ้านคอสน เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484 เวลา 2 นาฬิกา แต่เนื่องจากบริเวณหน้าบ้านคอสน นั้นมีเลยลึกมาก ทหารญี่ปุ่นต้องติดเลนอยู่จนเกือบรุ่งสว่างทำให้กองกำลังตำรวจเมืองชุมพร หน่วยยุวชนมหารที่ 52 โรงเรียนศรียาภัย และทหารกองพันทหารราบที่ 38 สามารถรวมตัวและเคลื่อนกำลังพลมารับกำลัง ทหารญี่ปุ่นมีกำลัง 4-5 พันคน พร้อมอาวุธหนักและเบาอันทันสมัย แต่ฝ่ายไทยมีทหาร 1 หมวด ยุวชนทหารโณงเรียนศรียาภัยประมาณ 30 นาย และกำลังตำรวจอีกส่วนหนึ่ง แต่ก็สามารถต่อสู้กันถึง ครึ่งวันจนมีกำลังจากหน่วยเหนือให้ยุติการต่อต้านญี่ปุ่นปล่อยให้กองทัพญี่ปุ่นเคลื่อนกำลังทางถนน ปากน้ำ-ชุมพร ผ่านไปยังอำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง โดยมุ่งหมายที่จะยึดแหลมวิคตอเรียพอยด์ของอังกฤษในพม่า ผลจากการสู้รบกองกำลังจังหวัดชุมพรเสียชีวิตไป 5 นาย และบาดเจ็บ 5 นาย ส่วนหน่วยยุวชนทหารไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในยุโรปในช่วงกลางปี 2482 สงครามได้ลุกลามออกไป มีประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมรบมากมาย จนกระทั่งญี่ปุ่นได้ลงนามเป็นพันธมิตรกับเยอรมนี และอิตาลี ในวันที่ 27 กันยายน 2483 ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นเข้าร่วมสงครามโลกอย่างเต็มตัว ด้วยการยึดดินแดนที่เป็นอาณานิคมของชาติฝ่ายสัมพันธมิตร (สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียด และจีน) โดยชูนโยบาย เอเชียเพื่อชาวเอเชียเพื่อสร้างเอเชียให้เป็นหนึ่ง ซึ่งเรียกกันว่า สงครามมหาเอเชียบูรพา ในตอนเช้าตรู่วันที่ 8 ธันวาคม 2484 กองทัพญี่ปุ่นได้โจมตีฐานทัพเพิร์ลฮาเบอร์ของสหรัฐอเมริกา และส่งกองทัพไปโจมตีประเทศอื่นๆ ในแถบแปซิฟิก หมู่เกาะต่าง ๆ ของอินโดนีเซีย ทะเลจีนใต้ รวมถึงไทยด้วย ทำให้ญี่ปุ่นสามารถยึดครองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ทั้งหมด เวลาประมาณ 23.00 น. บริเวณอ่าวชุมพร วันที่ 7 ธันวาคม 2484 กองเรือรบญี่ปุ่นเผชิญพายุฝนทำให้กำหนดการบุกขึ้นฝั่งคลาดเคลื่อน รุ่งเช้า วันที่ 8 ธันวาคม 2484 ทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่จังหวัดชุมพร 2 จุด คือที่บ้านแหลมดิน และบ้านคอสน กองทหารญี่ปุ่นที่บ้านแหลมดินเป็นทัพหน้า จัดรูปขบวนมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก เข้าสู่ถนนชุมพร ส่วนทหารญี่ปุ่นที่บ้านคอสนเคลื่อนทัพไปทางทิศใต้ ตามแนวชายฝั่ง และค่อยไปสมทบกับทัพหน้าที่สะพานท่านางสังข์ เพื่อเข้าสู่ตัวเมืองชุมพร หลวงจรูญประศาสน์ ข้าหลวงประจำจังหวัดชุมพรทราบข่าวการยกพลขึ้นบกของทหารญี่ปุ่นราว 6 นาฬิกา 30 นาที ขึงสั่งให้ พ.ต.ต.หลวงจิตการุณราษฎร์ ผู้กำกับการตำรวจภูธร และร้อยเอกถวิล นิยมเสน ผู้บังคับหน่วยฝึกยุวชนทหารที่ 52 จัดกำลังไปต้านทานกองทัพญี่ปุ่นที่จะเข้ามาทางปากน้ำชุมพร เวลา ประมาณ 7 นาฬิกา 15 นาที ร้อยเอกถวิล นิยมเสน ได้เคลื่อนย้ายกำลังอกปฏิบัติการ เมื่อไปถึงสะพาน ท่านางสังข์ก็ต้องหยุดเข้าสมทบกับกำลังตำรวจ ที่กำลังปะทะอยู่กับทหารญี่ปุ่นอยู่ก่อนแล้ว ร้อยเอกถวิล ได้ขึ้นไปตรวจการณ์บนสะพานถูกข้าศึกยิงแต่ไม่เห็นตัวข้าศึก เพราะบริเวณนั้นเป็นป่าสลับสวนมะพร้าว และทุ่งนาป่าละเมาะ ข้าศึกก็พรางตัวอย่างดีด้วยกิ่งไม้ ใบไม้ ร้อยเอกถวิล จึงรวมกำลังยุวชนทหารทั้งหมดข้ามสะพานไปฝั่งตรงข้าม โดยให้ยุวชนทหาร 3 นาย ที่ไม่มีปืนวิ่งกลับไปรับกระสุนเพิ่มเติมจากในเมือง ในการเคลื่อนที่ข้ามสะพานไปยึดพื้นที่ฝั่งตรงข้ามนั้น ร้อยเอกถวิล ได้ถูกข้าศึกยิงเข้าที่ซอกคอ กระสุนทะลุหลอดลมเสียชีวิตทันที ยุวชนทหารวัฒนา นิตยนารถ ได้รีบรายงานให้สิบเอกสำราญ ควรพันธ์ ทราบสิบเอกสำราญ จึงปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ควบคุมยุวชนทหารแทน และได้สั่งให้ยิงต่อสู้ข้าศึกต่อไปอย่างเหนียวแน่น ทหารญี่ปุ่นได้เสริมกำลังเข้ามาเรื่อย ๆ โดยพรางตัวด้วย กิ่งไม้ ใบบไม้ ดูไกล ๆ เหมือนป่าเคลื่อนที่เข้ามา ฝนก็ตกหนักตลอดเวลา ยุวชนทหารได้รับคำสั่งให้ยิงทันทีเมื่อเห็นกิ่งไม้ไหว ทำให้กองทัพญี่ปุ่นหยุดการบุกชั่วขณะหนึ่ง ได้ยินเสียงทหารญี่ปุ่นร้องเมื่อถูกยิงอย่างชัดเจน สิบเอกสำราญเองก็ถูกยิงที่แขนขวา เนื้อขาดไปทั้งก้อนจนปืนหลุดจากมือ ยุวชนทหารลออ เหมาะพิชัย ได้เข้ามาปฐมพยาบาล